Thai Name : นกอุ้มบาตร
Common Name : White Wagtail
Scientific Name : Motacilla alba
Family : Motacillidae (Wagtails, Pipits)
ขนาด : 17-18 ซม.
ลักษณะ : ขนลำตัวขาวสลับดำเด่นชัด ลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดย่อย และอาจแยกเป็นชนิดที่ต่างกัน ดังนี้
นกอุ้มบาตรหน้าขาวหลังดำ : Amur Wagtail : M. leucopsis : ตัวผู้ ลำตัวด้านล่างขาว กระหม่อม ท้ายทอย ลำตัวด้านบนและแถบอกดำ ขนคลุมปีกด้านบนและขอบขนโคนปีกขาว ขอบหางขาว ฤดูผสมพันธุ์แถบดำที่อกใหญ่ขึ้น ขอบต่อเนื่องกับสีดำข้างอก ตัวเมีย คล้ายตัวผู้ แต่ลำตัวด้านบนเทา
นกอุ้มบาตรหิมาลัย : Himalayan Wagtail : M. alboides : ตัวผู้ หน้าผาก คิ้ว คางและคอตอนบนขาว ขนคลุมหู คอ และแถบอกดำ ฤดูผสมพันธุ์คางและอกดำ ตัวเมีย : คล้ายตัวผู้ แต่ลำตัวด้านบนแกมเทา
นกอุ้มบาตรหน้าขาวหลังเทา : Baikal Wagtail : M. baicalensis : ตัวผู้ หลังและลำตัวด้านบนเทา แถบดำที่อกใหญ่กว่า leucopsis ตัวเมีย : กระหม่อมสีหม่นกว่าตัวผู้ ลำตัวด้านบนสีเทาอ่อนกว่า leucopsis
นกอุ้มบาตรหลังดำ : Black-backed Wagtail : M. lugens ตัวผู้ : คล้าย ocularis หลังและลำตัวด้านบนดำ ขนคลุมปีกด้านบนเป็นสีขาวทั้งหมด ตัวเมีย : คล้ายตัวผู้ แต่ลำตัวด้านบนแกมเทามากกว่า
นกอุ้มบาตรแถบตาดำ : East Siberian Wagtail : M. ocularis ตัวผู้ : หลังและลำตัวด้านบนเทา คล้าย baicalensis แต่แถบตาดำ ฤดูผสมพันธุ์คางและอกดำ แถบตาดำชัดเจนขึ้น ตัวเมีย : กระหม่อมและท้ายทอยเทา
เสียงร้อง ขณะบิน “ชริ-วิด” 2 พยางค์
พฤติกรรม : ชอบเดินสลับวิ่งจิกกินหนอนและแมลงตามทุ่งหญ้าหรือพื้นที่โล่ง ขณะเดินจะกระดกหางขึ้นลงอยู่เสมอและชอบไปเกาะนอนรวมอยู่จำนวนมาก
ถิ่นอาศัย : พื้นที่เปิดโล่งต่าง ๆ โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่ราบความสูง 2,000 ม.
สถานภาพ : นกอพยพ พบบ่อย
การพบใน ม.ขอนแก่น : นกอพยพ พบบ่อย พบได้ทั่วไปในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
****
นกอุ้มบาตรหิมาลัย : Himalayan Wagtail : M. alboides
นกอุ้มบาตรหน้าขาวหลังดำ : Amur Wagtail : M. leucopsis
นกอุ้มบาตรแถบตาดำ : East Siberian Wagtail : M. ocularis
แหล่งอ้างอิง : คู่มือศึกษาธรรมชาติหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย และหนังสือ Thailand BIRD GUIDE รุ่งโรจน์ จุกมงคล
ภาพถ่ายโดย : สุภาพร เทียมวงศ์