นกกระติ๊ดแดง เป็นนกประจำถิ่น ช่วงที่พบจำนวนมากหลายร้อยตัวจะเป็นช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี
ช่วงก่อนค่ำนกจะบินมาลงตามพื้นถนน และนอนในพงหญ้าหรือธูปฤาษี เช้ามืดก็บินออกไปหากิน
บางปีลงที่บ่อประมง บางปีลงที่บ่อบำบัด
ช่วงที่สุกแดงเป็นสตอเบอรี่ เป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์
***
Thai Name : นกกระติ๊ดแดง
Common Name : Red Avadavat
Scientific Name : Amandava amandava
Family : Estrildidae (Munias & Allies)
ขนาด : 9.5-10 ซม.
ลักษณะ : ตัวผู้ชุดขนผสมพันธุ์ ปากและขนลำตัวแดงสด แถบตาดำแคบ หลังสีแกมน้ำตาล ปีกและหางดำ มีจุดขาวกระจายที่ลำตัวด้านล่าง ปีกและตะโพก ตัวผู้ นอกฤดูผสมพันธุ์คล้ายตัวเมีย แต่จุดขาวใหญ่กว่า ตะโพกมีจุดขาว ตัวเมีย แถบตาดำ ปากและตะโพกแดง ลำตัวด้านบนและล่างน้ำตาล ปีกสีเข้มมีจุดขาวเล็กๆ เสียงร้อง “ชีพ ชีพ”
พฤติกรรม : มักพบบินตามกันเป็นฝูงเล็กๆ อย่างรวดเร็ว และชอบหากินตามพงหญ้า
ถิ่นอาศัย : ทุ่งหญ้า พื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าละเมาะ ที่ราบถึงความสูง 1,525 ม. ส่วนใหญ่พบที่ราบ
สถานภาพ : นกประจำถิ่น พบบ่อย
การพบใน ม.ขอนแก่น : นกประจำถิ่น พบบ่อย พบที่บ่อประมง และบ่อบำบัดน้ำเสีย
แหล่งอ้างอิง : คู่มือศึกษาธรรมชาติหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย และหนังสือ Thailand BIRD GUIDE รุ่งโรจน์ จุกมงคล
ภาพถ่ายโดย : สุภาพร เทียมวงศ์